รู้ขั้นตอน เป็นผู้ผลิตอาหารอย่างถูกต้องทำอย่างไร

Last updated: 9 ก.ย. 2566  |  819 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้ขั้นตอน เป็นผู้ผลิตอาหารอย่างถูกต้องทำอย่างไร

อยากจะขยายธุรกิจจากร้านเล็กๆ จากครัวที่บ้าน กลายเป็นส่งขายในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือถึงขั้นส่งออก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คิดการทำโรงงานผลิตน่าจะมีขั้นตอนยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริง หากมีตัวช่วยที่ดี มีการเตรียมตัวที่ดี ที่ช่วยลดขั้นตอน ลดความผิดพลาดด้านเอกสารต่างๆก็จะช่วยลดระยะเวลาในการขออนุญาตได้มากเลยทีเดียว ดังนั้น ลองมาพิจารณาดูว่า ถ้าอยากจะเปิดโรงงานผลิตอาหารหรือสถานที่ผลิตอาหารเล็กๆ คุณควรต้องทำอย่างไรบ้างนะ

อยากเป็นผู้ผลิตอาหารอย่างถูกต้องทำอย่างไร

1. ต้องทราบก่อนว่าต้องการดำเนินธุรกิจแบบดิ โดยจดทะเบียนพาณิชย์ (กรณีต้องการขออนุญาตแบบบุคคลธรรมดา)
หรือจดทะเบียนบริษัท (กรณีต้องการขออนุญาตแบบนิติบุคคล)

2. ต้องการผลิตสินค้าอาหารชนิดใด

3. ขออนุญาตสถานที่ผลิต โดยต้องทราบจะต้องขอแบบเข้าข่ายโรงงานหรือไม่ โดยพิจารณาจากจำนวนแรงม้าเครื่องจักรและจำนวนคนงานในสถานที่ผลิต ตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ระบุว่า
“โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม ตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน

4. หากเข้าข่ายโรงงานก็ต้องทราบว่าพื้นที่ที่จะตั้งโรงงานนั้นอยู่ในเขตพื้นที่ใด สามารถตั้งเป็นโรงงานได้หรือไม่และต้องขอขออนุญาตโรงงานก่อนหรือไม่ (แรงม้าเครื่องจักรไม่ถึง 50 แรงม้า คนงานไม่เกิน 50 คนก็ข้ามข้อนี้เลยจ้า)

5. เมื่อตรวจสอบแล้วว่าจะต้องขอสถานที่ผลิตแบบไม่เข้าข่ายโรงงานหรือแบบเข้าข่ายโรงงานก้เข้าสู่ขั้นตอนเตรียมพื้นที่สถานที่ผลิต เครื่องจักรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการยื่นขออนุญาต

6. ยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 420 พิจารณาที่ตั้งสถานที่ผลิตอยู่ที่ใด ซึ่งพื้นที่ กทม. จะขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ส่วนกลาง) พื้นที่จังหวัดอื่นให้ขออนุญาตกับสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทอาหารที่ขอผลิตด้วย)

7.จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดวันเข้าตรวจประเมินสถานที่ก่อนอนุมัติ  สถานที่และเครื่องจักรจะต้องพร้อมสำหรับการตรวจประเมินสถานที่ โดยค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าเครื่องจักร

8. เมื่อสถานที่อนุมัติแล้ว ยังผลิตจำหน่ายสินค้าเลยไม่ได้นะ จะต้องดำเนินการขอขึ้นทะเบียนสินค้าก่อนทำการผลิต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนรวมทั้งอาจแนบผลวิเคราะห์ประกอบการพิจารณา เมื่อพิจารณาผ่านจะได้รับเลขสารบบอาหาร(เลข อย.หรือเรียกว่า เลข 13 หลัก) จึงจะสามารถผลิตนำสินค้าออกมาขายได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ระยะเวลาขึ้นทะเบียน อย.จะแตกต่างกันตามประเภทอาหารของสินค้าที่ขออนุญาต 

9.เมื่อได้เลขสารบบอาหาร (เลข อย.) แล้วก็ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการผลิตอาหารที่ดีอย่างเคร่งครัด มีจรรยาบรรณการผลิต จัดทำฉลากตามข้อกำหนดอย่างถูกต้องตามประเภทอาหารนั้นๆ รวมถึงจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการผลิต เอกสารวัตถุดิบ ผลวิเคราะห์สินค้า เอกสารสินค้าที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ที่สถานประกอบการเพื่อเตรียมตัวหากถูกเรียกตรวจจากหน่วยงานที่ควบคุมดูแลในอนาคตด้วยนะ

10.เมื่อดำเนินการผลิตขออนุญาตอย่างถูกต้องก็ทำให้มั่นใจได้ทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้จัดจำหน่ายและสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าให้กับผู้บริโภค เรียกได้ว่าครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน

หากธุรกิจหรือผู้ประกอบการท่านใดต้องการบริการขึ้นทะเบียนอาหาร ขออย. จดอย. อาหาร/เครื่องสำอาง ทั้งแบบผลิตและนำเข้า หรือบริการอื่นๆ เรายินดีเตรียมงานให้ทุกขั้นตอน เราพร้อมเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจคุณเดินหน้าต่อได้ ยินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นฟรี

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ Line ID : ap3236   โทร.091-2221996  หรือคลิก www.apenterligance.com 

ที่มา : ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,กรมโรงงานอุตสาหกรรม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้